เชือดโรงบรรจุก๊าซแอลพีจี
วันพุธ ที่ 11 สิงหาคม 2553 เวลา 8:07 น
โยกโควตาครัวเรือนขายขนส่ง ชี้ถังไทยวางเกลื่อนเพื่อนบ้าน
นายพีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรม ธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า เตรียมประสานงานกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจให้ตรวจสอบการดำเนินกิจการ ของโรงบรรจุแก๊ส 434 แห่งทั่วประเทศ เนื่องจากหลายรายมีการแจ้งเท็จ การทำธุรกิจกับกรมฯ จากเดิมแจ้งว่าจะนำแก๊สหุงต้ม (แอลพีจี) ไปบรรจุถังจำหน่ายให้แก่ครัวเรือน แต่แอบนำไปจำหน่ายแก่ปั๊มแทน เพราะการจำหน่ายในภาคขนส่ง สามารถทำยอดขาย และกำไรได้รวดเร็วกว่าจำหน่ายในครัวเรือน ที่ต้องรอให้ผู้บริโภค มาเปลี่ยนถังแก๊สใหม่ เฉลี่ยครัวเรือนละ 15 วันต่อ 1 ครั้ง ดังนั้นหากไม่รีบดำเนินคดีกับโรงบรรจุแก๊ส ที่กระทำผิดในอนาคต ภาคครัวเรือนอาจขาดแคลนแอลพีจีได้
ทั้งนี้ตัวเลขที่มีการแจ้งการใช้แอลพีจีภาคครัวเรือนในเดือน ก.ค. 53 จากผู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 ที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการ เฉลี่ยวันละ 6.771 ล้าน กก. สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.93 แสน กก.ต่อวัน หรือ 9.6% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงผิดปกติมาก ไม่ตรงกับความต้องการใช้จริงของภาคครัวเรือน จากสถานการณ์ปกติ ที่ปริมาณการใช้ขยายตัวไม่เกิน 5% เบื้องต้นหากมีการตรวจพบว่า รายใดกระทำความผิดจริง จะถูกดำเนินคดีมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
โรงบรรจุแก๊สจะรับซื้อแอลพีจี ต่อจากผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่มีทั้งหมด 10 ราย ประกอบด้วย บริษัท อูโน่แก๊ส, บริษัท พีเอพีแก๊สแอนด์ออยล์, บริษัท พลังงาน บริสุทธิ์, บริษัท เอ็นเอส แก๊ส, ปตท., สยามแก๊ส, ปิคนิค, ยูนิค, แสงทองและนิวเวิลด์ แต่ที่พบว่ามีการกระทำผิดเพราะโรงบรรจุแก๊ส ได้แจ้งว่าจะซื้อแก๊สไปบรรจุถัง เพื่อจำหน่ายครัวเรือน แต่บางรายแอบนำไปขายให้ปั๊มแอลพีจี ซึ่งถือว่าผิดสัญญาที่แจ้งไว้ เบื้องต้นแม้ว่าโรงบรรจุแก๊สจะไม่ได้กำไรเพิ่ม เพราะการขายให้ปั๊มไม่เสียเวลานัก
ขณะเดียวกันยังพบว่า มีการลักลอบนำแอลพีจีบรรจุถังไป จำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่าและกัมพูชา เนื่องจากเจ้าหน้าที่ ไปตรวจสอบประเทศเพื่อนบ้าน พบว่ามีถังแก๊สจากผู้ค้าประเทศไทยจำนวนมาก เบื้องต้นได้ประสานงานกับ เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ในการเข้มงวด การลักลอบส่งออก ที่ผิดกฎหมาย
สำหรับยอดการใช้แอลพีจีเดือน ก.ค. 53 ในภาพรวม เฉลี่ยวันละ 14.139 ล้านกก. ต่อวัน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.1% เนื่องจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ส่งผลให้มีการใช้ในปริมาณที่มากขึ้น โดยแบ่งเป็นภาคครัวเรือนวันละ 6.771 ล้าน กก. ต่อวันเพิ่ม 9.6% ภาค อุตสาหกรรม 2.139 ล้าน กก.ต่อวัน เพิ่ม 25.7% ภาคขนส่ง 1.837 ล้าน กก.ต่อวัน เพิ่ม 3.3% ภาคปิโตรเคมี 3.393 ล้าน กก.ต่อวัน ลดลง 19.1% ส่วนยอดการนำเข้าแอลพีจีในเดือน ส.ค. นี้ คาดว่าอยู่ที่ 1.32 แสนตัน ลดลงจากเดิมที่ประเมินว่าจะต้องมีการนำเข้า 1.45 แสนตัน เพราะดูจากยอดการใช้ในภาคปิโตรเคมี ที่ลดลงจากกรณีที่โรงงานปิโตรเคมีของ ปตท.เคมีคอลปิดซ่อมบำรุงจำนวนมาก
สำหรับยอดการใช้น้ำมันเดือน ก.ค. 53 พบว่า น้ำมันเบนซินอยู่ที่ 20.612 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 1.3% น้ำมันดีเซลรวมอยู่ที่ 50.051 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่ม 5.4% แต่จะลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยเพราะเป็นช่วงปลาย และใกล้ฤดูหมด พืชผลทางการเกษตร ทำให้การใช้รถเพื่อบรรทุกสินค้าลดน้อยลง ส่วนยอดการใช้ก๊าซเอ็นจีวี เดือน ก.ค. ปรับลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยมาอยู่ที่ 4,990 ตันต่อวัน เนื่องจาก ปตท.ปิดสถานีบริการบางแห่งชั่วคราว เพื่อติดตั้งระบบปรับปรุงคุณภาพ
นายพีระพล กล่าวว่า กรมฯ ยังได้ตรวจสอบคุณภาพน้ำมันของสถานีบริการ น้ำมันทั่วประเทศในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 ตั้งแต่เดือน ต.ค. 52 ถึงเดือน ก.ค. 53 จำนวน 5,105 ราย พบว่ามีการจำหน่าย น้ำมันคุณภาพต่ำ 172 ราย จำนวน 195 ตัวอย่าง โดยแยกเป็นกลุ่มน้ำมันเบนซินพบผิด 88 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นการปลอมปนน้ำมันแก๊สโซฮอล์ แอลกอฮอล์และเอทานอล ขณะที่น้ำมันดีเซลพบผิด 107 ตัวอย่าง เป็นน้ำมันดีเซลที่ปลอมปน ด้วยน้ำมันไบโอดีเซลบี 5 และเป็นการลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นปั๊มอิสระ อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงานได้มอบอำนาจ ให้หัวหน้านายสถานีตำรวจแต่ละแห่งให้ช่วย
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm? page=content&categoryId=310&contentID=84364 |